เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

กรมชลประทานขอความร่วมมืองดทำนาปรังรอบ2

โพสท์ใน ประกาศข่าว | ใส่ความเห็น

แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักถึงหนักมาก

โพสท์ใน ประกาศข่าว | ใส่ความเห็น

ประชาสัมพันธ์มาตรการของสำนักงานเกษตรอำเภอคลองหลวง

โพสท์ใน ประกาศข่าว | ใส่ความเห็น

อยากปลูกกัญชาต้องทำอย่างไร?

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ใส่ความเห็น

1ตำบล1กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่

การรับสมัครเกษตรกร

๑. คุณสมบัติเกษตรกร
  1. ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือเกษตรกรทั่วไป หรือทายาทเกษตรกร หรือแรงงานคืนถิ่น หรืออาสาสมัครเกษตรกรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี และมีสัญชาติไทย
  3. พื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นผืนเดียวกันไม่น้อยกว่า ๓ ไร่ และเป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารสิทธิต้องเป็นของผู้สมัครหรือเป็นของทายาทของผู้สมัคร (บิดากับบุตร มารดากับบุตร สามีกับภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย) และผู้สมัครต้องมีที่พักอาศัยในพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการ
  4. เจ้าของเอกสารสิทธิตามข้อ (๓) ต้องยินยอมให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ประโยชน์จากที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการฯ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ ปี โดยมีการลงลายมือชื่อหรือประทับลายนิ้วมือในหนังสือยินยอม
  5. ผู้สมัครและพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องไม่อยู่ในโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ (5 ประสาน) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๒. วิธีการรับสมัคร
  1. สมัครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ntag.moac.go.th
  2. ยื่นใบสมัครกับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอ

๓. วิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ

คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ ผู้แทนจากสภาเกษตรกรในพื้นที่ และผู้แทนจากชุมชนในพื้นที่ เป็นผู้คัดเลือกเกษตรกรในแต่ละตำบล โดยการ

  1. พิจารณาความสอดคล้องของข้อมูลผู้สมัครกับคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
  2. ตรวจสอบคุณสมบัติของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขของกรมพัฒนาที่ดิน หรือ ข้อมูลอื่นๆ และการลงตรวจสอบสภาพพื้นที่จริง เพื่อประเมินความเหมาะสม ในด้านการเก็บกักน้ำของดิน คุณสมบัติของน้ำ เช่น ความเค็ม ความเป็นกรด-เบส เป็นต้น
  3. คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ อาจกำหนดเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
  4. การพิจารณาผลของคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ ให้มีการบันทึกความเห็น เหตุผลในการตัดสิน และมติที่ประชุมให้ชัดเจน
  5. พิจารณาขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกตามข้อ (๑) , (๒) และ (๓) โดยใช้ข้อมูลลำดับจากวันที่สมัคร เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณา และขึ้นบัญชีสำรองในกรณีที่มีผู้ผ่านการคัดเลือกเกินเป้าหมายที่ได้รับการจัดสรร และอาจมีการพิจารณาเพิ่มเติมหากมีการจัดสรรเป้าหมายเพิ่ม
  6. เชิญผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าทำสัญญากับโครงการ พร้อมนำเอกสารหลักฐานและใบยินยอมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มอบให้เจ้าหน้าที่โครงการฯเก็บไว้เป็นหลักฐาน

แนวทางการจ้างงาน

๑. คุณสมบัติของผู้รับจ้างงาน
  1. เป็นเกษตรกรทั่วไป หรือทายาทเกษตรกร หรือแรงงานคืนถิ่น หรืออาสาสมัครเกษตรกรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. อายุระหว่าง ๑๘ – ๖๐ ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทย
  3. วุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หรือเทียบเท่า
  4. มีที่พักอาศัยอยู่ในตำบลที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ
  5. ต้องมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ , โทรศัพท์เคลื่อนที่ (smartphone) ฯลฯ
  6. ไม่เป็นข้าราชการประจำ หรือข้าราชการบำนาญ รวมทั้งข้าราชการการเมือง ลูกจ้างของกระทรวง กรมที่มีฐานะเทียบเท่าพนักงานส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และไม่เป็นลูกจ้างเอกชน
  7. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
  8. ต้องไม่เป็นเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงแปลงตามโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
  9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง

๒. การปฏิบัติหน้าที่
  1. สนับสนุนการวางแผนการผลิตแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของผู้เข้าร่วมโครงการฯ และปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการดำเนินงานภายใต้โครงการฯ
  2. จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลด้านการเกษตรในพื้นที่ตำบล พร้อมทั้งจัดทำรายงานเสนอสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
  3. นำความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับถ่ายทอดสู่เกษตรกรในหมู่บ้านได้ และติดตามสถานการณ์การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่
  4. ประสานเชื่อมโยงการทำงาน และประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรม โครงการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เข้าถึงระดับหมู่บ้าน
  5. จัดทำแผนผลการปฏิบัติงานรายเดือน และรายงานผลการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบทุกสิ้นเดือน
  6. รายงานผลความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานตามโครงการในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทราบ เดือนละ 1 ครั้ง
  7. ประสานงานหรือร่วมประชุมกับคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ระดับอำเภอ
  8. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย

๓. วิธีการรับสมัคร
  1. สมัครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ntag.moac.go.th

๔. การคัดเลือกผู้รับจ้างงาน

คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ ผู้แทนจากสภาเกษตรกรในพื้นที่ และผู้แทนจากชุมชนในพื้นที่ เป็นผู้คัดเลือกเกษตรกรในแต่ละตำบล โดยการ

  1. วิธีการสัมภาษณ์ มีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน องค์ประกอบที่ใช้ในการพิจารณา ประกอบด้วย
    • ความรู้ ความสามารถ
    • คุณลักษณะอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
  2. การทดสอบภาคปฏิบัติ
  3. เกณฑ์การตัดสิน ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการจ้างงานภายใต้โครงการ ๑ ตำบล ๑ กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนรวมในการสัมภาษณ์และปฏิบัติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
  4. คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ สามารถกำหนดเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม
  5. การจัดจ้างจะเป็นไปตามคะแนนที่ได้ โดยจะเรียงลำดับที่จากผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนเท่ากัน จะให้ผู้ที่มีลำดับการสมัครก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า
โพสท์ใน ประกาศข่าว | 2 ความเห็น

ข้อมูลเตือนภัยการเกษตร

ด้วงแรดมะพร้าว
ข้อสังเกตและลักษณะอาการ ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช โดยการบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด ถ้าโดนทำลายมากๆจะทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อนทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดยอดเน่าจนถึงต้นตายได้ในที่สุด ด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน ส่วนใหญ่พบตามพื้นดินในบริเวณที่มีการกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกจะกัดกินและทำลายระบบรากของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้พบอาการยอดเหี่ยวและแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
๑. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมานาน ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน หรือกองให้เป็นที่ แล้วหมั่นกลับเพื่อตรวจดูหากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย ต้น
มะพร้าวที่ถูกตัดเพื่อปลูกทดแทน ถ้ายังสดอยู่เผาทำลายไม่ได้ ควรทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมารวมกันไว้ปล่อยให้ผุสลายล่อให้ด้วงแรดมะพร้าวมาวางไข่ ด้วงแรดมะพร้าวจะวางไข่ตามเปลือกมะพร้าวที่อยู่ติดกับพื้นดินเพราะมีความชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว เผาทำลายท่อนมะพร้าวเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว ตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องใช้แล้วราดให้ทั่วตอเพื่อป้องกันการวางไข่ได้
๒. การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium sp.) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ เกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุดรดน้ำให้ความชื้น หาวัสดุ เช่น ใบมะพร้าวคลุมกองไว้เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อจะทำลายด้วงแรดมะพร้าวทุกระยะการเจริญเติบโต
๓. การใช้สารเคมี ๓.๑ ต้นมะพร้าวอายุ ๓-๕ ปีซึ่งยังไม่สูงมากนัก ใช้ลูก เหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทาง ละ ๒ ลูกต้นละ ๖-๘ ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วง แรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว ๓.๒ ใช้สารฆ่าแมลงไดอะซินอน ๖๐% อีซีอัตรา ๘๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน ๒๐% อีซี อัตรา ๘๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าว ตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียก โดยใช้ปริมาณ ๑-๑.๕ ลิตรต่อต้น ทุก ๑๕-๒๐ วัน ควรใช้ ๑-๒ ครั้ง ในช่วงระบาด 

โพสท์ใน ประกาศข่าว | ใส่ความเห็น

เฝ้าระวังสถานการณ์ระบาดของโรคไหม้

เชื้อโรคไหม้ (Pyricularia oryzae)

ด้วยสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานีได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เรื่องได้สำรวจพบการเข้าทำลายของเชื้อโรคไหม้ ซึ่งเกิดจากเชื้อ Pyricularia oryzae พบการเข้าทำลายในระยะแตกกอซึ่งสภาพอากาศค่อนข้างเย็น และมีลมพัดแรง ทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจายได้ดี โดยทำการสำรวจพบโรคไหม้ข้าวระยะคอรวง โดยพบว่าใบข้าวมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาตรงกลางแผล และเริ่มมีแผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณคอรวง

แนวทางป้องกันกำจัด
1.ในกรณีที่พบโรคไหม้มีอาการรุนแรง หรือพบพื้นที่ใบเสียหายจากการเป็นโรคถึง 10% ในข้าวระยะกล้าถึงแตกกอเต็มที่ และ 5% ในข้าวระยะตั้งท้อง หรือพบแผลโรคไหม้ที่ใบธง ควรใช้สารป้องกัน กำจัดโรคพืช เช่น ไตรไซคลาโซล(Tricyclazole) ไอโซโปรไธโอเลน(Isoprothiolane) และควรใช้เฉพาะในระยะกล้า-แตกกอ ตามอัตราที่ระบุ
2.ในฤดูปลูกต่อไป ควรเลือกใช้พันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ เช่น สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี60 ปราจีนบุรี1 พลายงาน และพิษณุโลก1 เป็นต้น
3.หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสมคือ 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยตามอัตราที่แนะนำหรือตามค่าวิเคราะห์ดิน
4.คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกะมัยซิน(K
asugamycin) ไตรไซคลาโซล(Tricyclazole) คาร์เบนดาซิม(Carbendazim) โปรคลอลาซ(Prochloraz) ตามอัตราที่ระบุ

ข้อควรระวัง โรคไหม้จะแสดงอาการรุนแรงเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ มีหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น จึงควรแบ่งแปลงให้มีการระบายอากาศที่ดี ไม่หว่านเมล็ดพันธุ์มากเกินไป และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงเกินไป ถ้าสูงเกิน 50 กิโลกรัมต่อไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

โพสท์ใน ประกาศข่าว | ใส่ความเห็น

วิสาหกิจชุมชน รู้ภาษี ดีต่อใจ

โพสท์ใน วิสาหกิจชุมชน | ใส่ความเห็น

ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ตลาดสินค้าเกษตรออนไลน์ (DGTFarm.com)

ข้อมูลเพิ่มเติม
Powerpoint_DGT_Farm-review

โพสท์ใน ประกาศข่าว | ใส่ความเห็น