ข่าวประชาสัมพันธ์

💡รู้ทัน ป้องกันได้ ‼️
โรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ 🐛🦗🌾👩🌾🧑🌾
📲 ชาวนาแชร์ไว้! ใช้ตรวจแปลง🐛🌱

ฤดูฝนคือช่วงเสี่ยง โรคข้าวระบาดง่าย เพราะความชื้นสูง ลมแรง เชื้อโรคแพร่ไว ชาวนาควรรู้จักโรคที่พบบ่อย
1. โรคไหม้
2. โรคใบจุดสีน้ำตาล
3. โรคขอบใบแห้ง
4. โรคใบขีดโปร่งแสง
***คำแนะนำ***
⭐สำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกหนัก
⭐หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เนื่องจากกระตุ้นการเกิดโรค
⭐ควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง กับช่วงน้ำแห้งสลับกัน
⭐ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

พวกเราชาวเกษตรกร โปรดระวังไข้ดิน

🌳🌾🌿🐛 🌳🌾🌿🐛 🌳🌾 📢📢📢แจ้งเตือนภัยการเกษตร
ช่วงวันที่ 24 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม 2568
🌦️☔️อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่
🔎 ขอแจ้งเตือนเกษตรกรและเฝ้าระวังภัยศัตรูพืช ดังนี้
🌴มะพร้าว
ระวัง!! หนอนหัวดำมะพร้าว แมลงดำหนามมะพร้าว โรคใบจุดสีเทา
🌶️พริก
ระวัง!! โรคใบด่างซีดพริก โรคแอนแทรคโนสหรือโรคกุ้งแห้ง โรคเน่าเปียก หรือโรคราหนวดแมว
🍊พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และ ส้มเขียวหวาน)
ระวัง !! โรคแคงเกอร์
🍌กล้วย
ระวัง !! โรคตายพราย/โรคปานามา/โรคเหี่ยว
🌽ข้าวโพด
ระวัง !! เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เพลี้ยไฟ หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย
โดยสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดแนวทางป้องกัน/แก้ไขได้ที่ https://at.doa.go.th/ew/index.php

โดยมีข้อมูลลักษณะการเข้าทำลาย และวิธีการป้องกันกำจัดของด้วงแรดมะพร้าว

และหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ
————————
ลักษณะการทำลายและการระบาด
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการ ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณ โคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ
ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้ง คล้ายถูกน้ำร้อนลวก และแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เรียก “อาการไหม้” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะ ข้าวแตกกอ ถึงระยะออกรวง และเป็น พาหะนำเชื้อไวรัสใบหงิก หรือโรคจู่


#หนอนกระทู้คอรวง ในนาข้าว


เตือน!!!!!!!!!!!!!! เกษตรกรอย่าหลงเชื่อ “มิจฉาชีพ” หลอกให้แอดไลน์หรือโทรศัพท์ก่อกวน

คลิกอ่าน : https://bit.ly/3W8z0St
———————–

ตอนนี้พบระบาดในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุทธยาแล้ว
Rice-Tech RD


ช่วงวันที่ 12 – 25 มิถุนายน 2567
ช่วงนี้มีอากาศร้อน มีฝนตกบางพื้นที่
ขอแจ้งตือนเกษตรกรและเฝ้าระวังภัยศัตรูพืช ดังนี้
ส้มโอ
ระวัง‼️ หนอนเจาะผลส้มโอ
พืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน)
ระวัง‼️ โรคแคงเกอร์
มะเขือเปราะ
ระวัง‼️หนอนเจาะผลมะเขือ
พืชผักตระกูล กะหล่ำ และผักกาด (เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม)
ระวัง‼️ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก
พริก
ระวัง‼️ เหี่ยวเขียว
ขิง
ระวัง‼️ โรคเหี่ยวหรือเหง้าเน่า
ข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ระวัง‼️เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เพลี้ยไฟ หนอนเจะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะฝักข้าวโพด
โดยสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดแนวทางป้องกัน/แก้ไขได้ที่ https://at.doa.go.th/ew/index.php
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี




หลักเกณฑ์และคุณสมบัติ
ครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ฤดูนาปี 2566/67และไม่เป็นเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการช่วยเหลือหรือสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานของกรมการข้าว ปี 2566-2567
เกษตรกรรวมกลุ่มกันสมัครผ่านผู้นําชุมชน (ชุมชน, หมู่บ้าน, ชาวนาอาสา,อกม., ศพก.,Smart Farmer, วิสาหกิจชุมชน, กลุ่มเกษตรกร) หรือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าใกล้บ้าน ตามสิทธิ์ที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ๆ ละไม่เกิน 15 กิโลกรัม รวมรายละไม่เกิน450 กิโลกรัม
ในกรณีเกษตรกรให้ความสนใจจัดซื้อเมล็ดพันธุ์มากกว่าเป้าหมายที่ได้รับแต่ละจังหวัด ศูนย์ฯจะพิจารณา ตามลำดับความสำคัญ คือ เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง รองลงมาคือซื้อเมล็ดพันธุ์จากเกษตรกรเพื่อนบ้านในชุมชน และสุดท้ายคือเคยใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพจากกรมการข้าว หรือแหล่งผลิตเมล็ดพันธ์ที่มีคุณภาพอื่นๆ
ขั้นตอนการสมัคร
1.กรอกใบสมัคร
รายกลุ่ม สมัครได้ที่ผู้นํากลุ่มเกษตรกร เช่น ประธานศูนย์ข้าวชุมชน
ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่ ชาวนาอาสา เป็นต้น
รายกลุ่ม สามารถเลือกได้ไม่เกิน 2 ชนิดพันธุ์
รายเดี่ยว สมัครได้ที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลพบุรี
รายเดี่ยว สามารถเลือกได้ 1 ชนิดพันธุ์
ตรวจสอบคุณสมบัติ
ชําระเงินค่าเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนรับเมล็ดพันธุ์ข้าว
รับเมล็ดพันธุ์ ณ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลพบุรี
#สามารถสอบถามเกี่ยวกับโครงการฯได้ที่
098-4987997 (คุณชลาลัย) #รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
089-5493623 (คุณนฤมล) #รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดสระบุรี
089-0879148 (คุณจิราภรณ์) #รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
091-4195619 (คุณจิรพงศ์) #รับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
088-0078361 (คุณกนกพร)




เกษตรกรควรระมัดระวัง ก่อนสูบน้ำเข้าไปใช้ในแปลงนา แปลงผัก หรือการทำการเกษตรอื่นๆ ค่ะ

ผู้สนใจ “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต”
สมัครเรียนได้ ตั้งแต่วันนี้ – 17 พฤษภาคม 2567
.
สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร เปิดกิจกรรมโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “ต่อยอดรายได้เกษตรกรด้วยคาร์บอนเครดิต” ให้กับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจสมัครเรียน โดยเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต ที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม
.
เรียนผ่านช่องทาง
สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร คลื่นความถี่ A.M.1386KHz
เว็บไซต์วิทยุออนไลน์ www.am1386.com
YouTube: AM1386RADIO
.
ลงทะเบียนเรียน ได้ที่
เว็บไซต์ www.am1386.com ในเมนูโรงเรียนเกษตรทางไกล (https://bit.ly/โรงเรียนเกษตรทางไกล)
คลิกสมัคร https://docs.google.com/…/1-g2cjijTYlhMaqXZ…/viewform…
.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2579 3927


(ประจวบคีรีขันธ์ โมเดล)




ช่วงวันที่ 13 – 26 ธันวาคม 2566
ช่วงนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้าและตอนกลางคืน และมีฝนตกเล็กน้อยบางพื้นที่
ขอแจ้งตือนเกษตรกรและเฝ้าระวังภัยศัตรูพืช ดังนี้
มะเขือเปราะ
ระวัง!! แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคใบด่างเหลืองมะเขือ
พริก
ระวัง!! ไรขาวพริก
โดยสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดแนวทางป้องกัน/แก้ไขได้ที่ https://at.doa.go.th/ew/index.php
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. https://bit.ly/3sZDQ8G
———————
ปุ๋ยเคมีแท้
1. เม็ดปุ๋ยจะแข็ง บีบไม่แตกง่าย
2. เม็ดปุ๋ยมีขนาดสม่ำเสมอเท่ากันทั้งหมด
3. เม็ดปุ๋ยไม่ละลายน้ำทันที
4. หลังจากผ่านการทดสอบในกระบวนการแช่ในน้ำแล้ว หยดด้วยน้ำปูนใส จะได้กลิ่นแอมโมเนียระเหยออกมา
5. นำเลขทะเบียนปุ๋ยไปตรวจสอบในระบบของกรมวิชาการเกษตร http://www.kasetservices.com
ปุ๋ยเคมีปลอม/ปน
1. เม็ดปุ๋ยจะอ่อน บีบแตกง่ายและไม่ควบแน่น (เป็นฝุ่นผง)
2. เม็ดปุ๋ยมีขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ไม่สม่ำเสมอ
3. เมื่อถูกน้ำเม็ดปุ๋ยจะเปื่อยยุ่ยได้ง่าย ละลายน้ำได้ทันที
4. หลังจากผ่านการทดสอบในกระบวนการแช่น้ำแล้วหยดด้วยน้ำปูนใส จะไม่มีกลิ่นแอมโมเนียระเหยออกมา หรือแทบไม่ได้กลิ่น
5. นำเลขทะเบียนปุ๋ยไปตรวจสอบในระบบของกรมวิชาการเกษตร http://www.kasetservices.com
วิธีทดสอบปุ๋ยว่าแท้หรือปลอม(เบื้องต้น)
https://www.youtube.com/watch?v=i8jxlUQR9IU
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
https://www.facebook.com/kasetthanya?mibextid=9R9pXO
———————
Infographic เรื่องอื่น ๆ คลิก https://esc.doae.go.th/Infographic
———————

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. : https://esc.doae.go.th/ไรสี่ขามะพร้าว
————————
ลักษณะการเข้าทำลาย
เข้าทำลายใต้กลีบขั้วผล และใต้กลีบเลี้ยง ทำให้เกิดรอยแผลที่ขั้วผลและลุกลามลงมาที่ผลทำให้แผลตกสะเก็ด เมื่อผลโตขึ้นจะเห็นแผลเป็นร่องลึก เมื่อแกะขั้วผลออกจะเห็นด้านในเป็นสีน้ำตาล หากนำไปส่องดูใต้กล้องจุลทรรศน์จะเห็นไรสี่ขามะพร้าวตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก โดยจะเข้าทำลายเกือบทุกผลของทลายมะพร้าว
————————
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
https://www.facebook.com/profile.php?id=100063968557948
————————
ข่าวเตือนการระบาดของศัตรูพืช เรื่องอื่น ๆ คลิก https://bit.ly/2WDO3UO
เข้าดูบทความทางการเกษตร เรื่องอื่น ๆ
คลิก https://esc.doae.go.th/บทความทางการเกษตร


ประชาสัมพันธ์กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ปีงบประมาณ 2567

ขณะนี้มีกลุ่มบุคคล แอบอ้างว่า หากไม่กดลิ้งค์เพื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชันยืนยันตัวตน
จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ ไร่ละ 1,000 บาท โดยปลอมแปลงเว็บไซต์ของกรมส่งเสริมการเกษตรขึ้น
***อย่าหลงเชื่อ ***
ไม่ลงทะเบียนและให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่กลุ่มมิจฉาชีพเด็ดขาด
หากมีข้อสงสัยหรือคำถาม
ให้เกษตรกรติดต่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่โดยตรง

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. : https://bit.ly/49NGaAd
————————
แมลงศัตรูมะพร้าว
แมลงดำหนาม
ไรสี่ขา
ด้วงงวง
ด้วงแรด
หนอนหัวดำ
————————
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท
https://www.facebook.com/DoaeChainat
————————
ข่าวเตือนการระบาดของศัตรูพืช เรื่องอื่น ๆ คลิก https://bit.ly/2WDO3UO
Infographic เรื่องอื่น ๆ คลิก https://esc.doae.go.th/Infographic
————————

ดาวน์โหลดไฟล์ PDF. https://esc.doae.go.th/ขอบใบแห้งในนาข้าว/
————————
สาเหตุและอาการ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) Swings et al.
อาการ เป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึง ออกรวง
ระยะกล้า – ต้นกล้ามีจุดลักษณะที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียว จะจางลงเป็นสีเทา ๆ
ระยะแตกกอ – จะแสดงอาการมีรอยขีดช้ำ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ที่แผลมีหยดน้ําสีครีมคล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด แผลจะขยายไปตามความยาวของใบ แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรค ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ในกรณีที่ต้นข้าว มีความอ่อนแอต่อโรคและเชื้อโรคมีปริมาณมาก จะทําให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นอย่างรวดเร็ว
————————
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท
https://www.facebook.com/profile.php?id=100064682354266
————————
ข่าวเตือนการระบาดของศัตรูพืช เรื่องอื่น ๆ คลิก https://bit.ly/2WDO3UO
บทความทางการเกษตร เรื่องอื่น ๆ
คลิก https://esc.doae.go.th/บทความทางการเกษตร
————————


คลิกดาวน์โหลดไฟล์ PDF. : https://bit.ly/3QOwTzk
————————
เพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลทําลายต้นข้าว ทั้งทางตรงและทางอ้อม
1.โดยการดูดกินน้ําเลี้ยงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ํา ทําให้เซลส์ท่อน้ำท่อท่ออาหารเสียหายต้นข้าวเลยแสดงมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ําร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อม ๆ เรียก”อาการไหม้”(hopperburn)
โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอ ถึงระยะออกรวง
2.เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาลยังเป็นพาหะน่าเชื้อไวรัส โรคใบหงิก(rice raggedstunt) มาสู่ต้นข้าว ทําให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้นใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานเกษตรคลองหลวง จ.ปทุมธานี
https://www.facebook.com/doaekhlongluang
————————
ข่าวเตือนการระบาดของศัตรูพืช เรื่องอื่น ๆ คลิก https://bit.ly/2WDO3UO
บทความทางการเกษตร เรื่องอื่น ๆ
คลิก https://esc.doae.go.th/บทความทางการเกษตร
————————

ช่วงวันที่ 15 – 28 พฤศจิกายน 2566
ช่วงนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้าและฝนตกบางพื้นที่ ขอแจ้งตือนเกษตรกรและเฝ้าระวังภัยศัตรูพืช ดังนี้
พืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด (เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ)
ระวัง โรคราน้ำค้าง มะเขือเปราะ
ระวัง!! หนอนเจาะผลมะเขือ แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคใบด่างเหลืองมะเขือ กะเพรา โหระพา แมงลัก
ระวัง !! แมลงหวี่ขาวยาสูบ มะเขือเทศ
ระวัง!! หนอนแมลงวันชอนใบ มะพร้าว
ระวัง !! ด้วงงวงมะพร้าว ชนิดเล็ก ด้วงงวงมะพร้าว ชนิดใหญ่
โดยสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดแนวทางป้องกัน/แก้ไขได้ที่ https://at.doa.go.th/ew/index.php
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี


.
การใช้สารจำกัดศัตรูพืช เช่น ยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดวัชพืช อาจทำให้พี่น้องเกษตรกร เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชได้ ซึ่งพิษเหล่านี้ สามารถสู่ร่างกายได้ ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
.
ผลกระทบที่เกิดจาก “พิษจากสารกำจัดศัตรูพืช” สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท โดยทั่วไป ดังนี้
.
1. อาการเฉียบพลัน : พบได้เมื่อสัมผัส-สูดดมสารเคมีโดยเฉียบพลัน อาการที่พบ เช่น แสบตา ตาอักเสบ ผิวหนัง เป็นผื่นแดง แสบร้อน ไอ แน่นหน้าอก อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ ตับอักเสบ ไตวาย และเสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีและปริมาณที่ได้รับ
.
หากได้รับปริมาณมาก อาจพบอาการตับอักเสบ ไตวายการชักแบบเกร็งกระตุก หรือถึงขั้นหมดสติ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่สัมผัสว่ายาวนานแค่ไหน
.
2. อาการเรื้อรัง : พบได้เมื่อสัมผัส-สูดดมสารเคมีซ้ำๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง อาการที่พบ เช่น มีพิษต่อระบบประสาท ทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด และ อาจเกิดอันตรายต่อการเจริญพันธุ์และทารกในครรภ์
.
#โรครว้ายๆวัยทำงาน นำ 4 วิธีป้องกันภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ง่าย ๆ มาฝากกับ “อ่าน-ใส่-ถอด-ทิ้ง”
อ่าน : อ่านฉลากสารเคมี ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้งานอย่างเคร่งครัด
ใส่ : ใส่อุปกรณ์เครื่องมือป้องกัน ขณะทำงาน เช่น ใส่แว่นตา หน้ากากป้องกันสารเคมี ถุงมือ รองเท้า
ถอด : ถอดชุดที่ใส่ขณะฉีดพ่น อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหลังทำงาน และแยกซักผ้าจากคนในครอบครัว
ทิ้ง : ทิ้งผลิตภัณฑ์สารเคมีให้ถูกต้อง โดยแยกออกจากขยะทั่วไป ป้องกันการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
เกษตรกรควรตรวจเช็คอุปกรณ์การฉีดพ่นให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่ชำรุด ก่อนจะนำใช้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ โดยตรง และไม่ควรฉีดพ่นในขณะลมแรงหรือฝนตก และควรยืนอยู่เหนือลมเสมอ เพื่อความปลอดภัย
.
การใช้สารเคมีจำกัดศัตร์พืช ถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมคุณภาพผลผลิตเกษตรกรรม ทว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงทางสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภค หากสารเคมีเกิดตกค้าง หรือเกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
.
#โรคหรืออาการสำคัญของพิษจากสารจำกัดศัตรูพืช เป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ภายใต้ พ.ร.บ. ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562
.
ฝาก 4 ขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย “อ่าน-ใส่-ถอด-ทิ้ง” ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจพี่น้องเกษตรกรทุกคนด้วยนะคะ
ด้วยความเป็นห่วงจากเรา

ขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมอบรมกิจกรรมส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566
เวลา 08.30 น. ณ อาหารเอนกประสงค์ อบต. บ้านฉาง


ตั๊กแตนเป็นศัตรูพืช!! หยุดปล่อยตั๊กแตน! หยุดหายนะการเกษตร!! กรมส่งเสริมการเกษตร

ก้าวเกษตร

คลิกอ่าน : https://bit.ly/471ldQy
—————————-
หนอนกออ้อย ศัตรูสำคัญที่เข้าทำลายอ้อย 3 ชนิด
หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว หนอนกอสีชมพู
ลักษณะการเข้าทำลาย
ระยะอ้อยแตกกอ (อ้อยอายุ 1-4 เดือน) จะพบหนอนกอทำลายทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ หากอ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยว จำนวน 1-2 ยอดต่อไร่ หรือพบกลุ่มไข่ 1-2 กลุ่มต่อไร่ ให้รีบป้องกันกำจัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท https://www.facebook.com/DoaeChainat
—————————-
ข่าวเตือนการระบาดของศัตรูพืช เรื่องอื่น ๆ คลิก https://bit.ly/2WDO3UO
เข้าดูบทความทางการเกษตร เรื่องอื่น ๆ
คลิก https://esc.doae.go.th/บทความทางการเกษตร
—————————-


คลิกอ่าน : https://bit.ly/3QVnJSV
—————————-
ลักษณะอาการ



—————————-

ช่วงนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้าและฝนตกบางพื้นที่
ขอแจ้งตือนเกษตรกรและเฝ้าระวังภัยศัตรูพืช ดังนี้
พืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
(เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ฯลฯ)
ระวัง โรคราน้ำค้าง หนอนกระทู้ผัก
พืชตระกูลแตง
(เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ)
ระวัง โรคราน้ำค้าง
พริก
ระวัง เพลี้ยไฟพริก แมลงหวี่ขาวยาสูบ โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย โรคใบด่างซีดพริก โรคใบหงิกเหลืองพริก โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้ง
พืชตระกูลส้ม
(เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน)
ระวัง หนอนชอนใบส้ม (หนอน)
ปาล์มน้ำมัน
ระวัง โรคลำต้นเน่า โรคใบไหม้
โดยสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดแนวทางป้องกัน/แก้ไขได้ที่ https://at.doa.go.th/ew/index.php
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี



